วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

การเรียนการสอน

                หมายถึง  การจัดสถานการณ์  (SITUATION)   สภาพการณ์   (CONDITION) หรือกิจกรรม  (ACTIVITIES)  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์  อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยสะดวกและง่ายดาย  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความเจริญงอกงามและพัฒนาทั้งทางกาย สมอง อารมณ์  และสังคม ซึ่งครูเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอนเหล่านี้
ทัศนะของการเรียนการสอน   แบ่งได้  3 ทัศนะใหญ่ คือ
              1.ความหมายของการสอนที่เกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ
             2.ความหมายของการสอนเกี่ยวกับทักษะ
            3.ความหมายของการสอนที่เกี่ยวกับความเจริญงอกงาม
องค์ประกอบในการเรียนการสอน   มี  2   ด้าน คือ
   1.องค์ประกอบในการเรียนการสอนด้านตัวครู
  2.องค์ประกอบในการเรียนการสอนด้านผู้เรียน
ส่วนประกอบของระบบ
           ระบบประกอบด้วยส่วนสำคัญมี  4   ประการ   และมีความสัมพันธ์กัน   คือ
1.     ตัวป้อน          ( Input )
2.     กระบวนการ   ( Process )
3.     ผลผลิต          ( Out  put )
4.     ข้อมูลป้อนกลับ    ( Feed  back )

ความสำคัญของระบบการเรียนการสอน

1.การทำงานอย่างเป็นระบบนั้นสิ่งต่างๆที่เป็นองค์ประกอบของระบบ จะอยู่ด้วยกันอย่างมีระเบียบ   ไม่มีความสับสน   และไม่มีความขัดแย้งกันในองค์ประกอบเหล่านั้น
2.การทำงานอย่างเป็นระบบจะเป็นไปได้ด้วยความสะดวก   รวดเร็ว   ประหยัดทั้งแรงงาน  เวลา และค่าใช้จ่าย
3.งานทุกอย่างจะสำเร็จตามเป้าหมายและได้ผลอย่างเต็มที่
4.การสอนอย่างเป็นระบบนั้นเป็นแนวทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถจะพิสูจน์ทดลองได้
       ระบบการเรียนการสอน  เป็นระบบย่อยในระบบการศึกษา  หรือระบบโรงเรียน ระบบการเรียนการสอนประกอบด้วยส่วนย่อยต่างๆซึ่งมีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน ส่วนที่สำคัญ คือ  กระบวนการเรียนการสอน  ผู้สอนและผู้เรียนการเรียนการสอนจะมี  -ประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด  จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ในส่วนต่างๆในระบบ
 การตรวจสอบของประสิทธิภาพของการเรียนการสอนนั้นได้โดยการประเมินผล และเมื่อผลที่ออกมายังมีข้อบกพร่องก็จะต้องไปปรับปรุงส่วนประกอบในระบบต่างๆต่อไป

     5.  ผู้สอนควรได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ การศึกษา สังคมและอาชีพ ให้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล  เช่นเดียวกับผู้ปกครองของผู้เรียน

แนวการจัดการเรียนการสอน

   1. การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรม อุปกรณ์การเรียนการสอนในแต่ละพฤติกรรม ควรยืดหยุ่นตามเหตุการณ์สภาพแวดล้อม ความสนใจ ความต้องการที่จำเป็นและความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
      2. ผู้สอนควรจัดแผนการเรียนการสอนโดยผสมผสานการสอนแบบตัวต่อตัวไปกับการสอนแบบกลุ่มย่อยและแบบกลุ่มขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพและยังคงมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างเหมาะสม
      3.  ผู้สอนควรคำนึงถึงวิธีการสอนเชิงพฤติกรรม   ซึ่งจะช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไป   พร้อมทั้งเพิ่มความมั่นใจในตัวเองขึ้น   เช่น วิธีการให้แรงเสริม การสอนแบบกระตุ้นเตือน การเลียนแบบ การวิเคราะห์งาน การตะล่อมกล่อมเกลาพฤติกรรมนำทางไปสู่พฤติกรรมที่พึงประสงค์เป็นต้น
     4.  ผู้สอนควรจัดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำเอาทักษะที่เรียนรู้แล้วในชั้นเรียนไปฝึกปฏิบัตินอกห้องเรียนในสถานศึกษาหรือที่บ้านของผู้เรียนให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตประจำวัน ซึ่งมีผลส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถช่วยเหลือตนเอง และดำรงชีวิตได้  จึงทำให้การเรียนการสอนนั้นมีคุณภาพ   และประสิทธิภาพตามที่ต้องการได้เป็นอย่างดี   
    รูปแบบการสอนทั้งหมดที่ยกตัวอย่างนี้ เป็นเพียงแนวทางของกลวิธีการสอนเพื่อแสดงให้เห็นเป็นข้อคิดสำหรับผู้สอนที่    เริ่มเข้าใจ เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ และสามารถสร้างความคิด ความสนใจต่อเนื่องในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี เปรียบประดุจต้นไม้ที่งอกจากเมล็ดซึ่งกำลังเติบโตขึ้นและมีความสวยงามได้จากการปรุงแต่งอย่างสร้างสรรค์ของผู้ดูแล
     กลวิธีการสอนความคิดสร้างสรรค์ยังมีอีกมากมายสมควรศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดแนวคิดในการประยุกต์ใช้เป็นวิธีการสอนให้เหมาะสมกับสาขาวิชาของตนเอง

สรุป

การเรียนการสอนเป็นกระบวนการในการให้ความรู้ที่กำหนดจุดประสงค์ที่แน่นอน และมีองค์ประกอบอื่นๆมาเกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ        องค์ประกอบของการเรียนการสอน   ได้แก่   ผู้สอน  เนื้อหา  สื่อการสอน  ผู้เรียน  การประเมินผลและอุปสรรคการเรียนการสอน
      ระบบการเรียนการสอน  จัดได้ในลักษณะแตกต่างกันออกไปในหลายรูปแบบ   แต่ทุกระบบการเรียนการสอนก็มีจุดมุ่งหวังที่จะทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนั้น   ในระบบการเรียนการสอน  ครู  จะต้องมีหลักในการจัดการเรียนการสอนที่ดี  จึงทำให้การเรียนการสอนนั้นมีคุณภาพ   และประสิทธิภาพตามที่ต้องการได้เป็นอย่างดี                              รูปแบบการสอนทั้งหมดที่ยกตัวอย่างนี้ เป็นเพียงแนวทางของกลวิธีการสอนเพื่อแสดงให้เห็นเป็นข้อคิดสำหรับผู้สอนที่    เริ่มเข้าใจ เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ และสามารถสร้างความคิด ความสนใจต่อเนื่องในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี เปรียบประดุจต้นไม้ที่งอกจากเมล็ดซึ่งกำลังเติบโตขึ้นและมีความสวยงามได้จากการปรุงแต่งอย่างสร้างสรรค์ของผู้ดูแล
    
 กลวิธีการสอนความคิดสร้างสรรค์ยังมีอีกมากมายสมควรศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดแนวคิดในการประยุกต์ใช้เป็นวิธีการสอนให้เหมาะสมกับสาขาวิชาของตนเอง